เมนู

(การประกอบพร้อมกัน) พร้อมด้วยอุบาย เพราะความที่อกุศลจิตนั้นเป็น
สสังขาริก (มีการชักจูง).
ส่วนในเยวาปนกธรรมทั้งหลาย ถีนมิทธะเป็นธรรมยิ่งในอกุศลจิต
ดวงที่ 2 นี้. บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น ความหดหู่ ชื่อว่า ถีนะ ความ
ง่วงโงก ชื่อว่า มิทธะ อธิบายว่า ความไม่อุตสาหะ ความไม่สามารถ และ
ความพิฆาต. ถีนะด้วยมิทธะด้วย ชื่อว่า ถีนมิทธะ ในอกุศลทั้งสองนั้น
ถีนะมีความไม่อุตสาหะเป็นลักษณะ (อนุสฺสาหนลกฺขณํ) มีการกำจัดวิริยะ
เป็นรส (วิริยวิโนทนรสํ) มีความท้อถอยเป็นปัจจุปัฏฐาน (สํสีทนปจฺจุ-
ปฏฺฐานํ).

มิทธะ มีความไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะ (อกมฺมญฺญตาลกฺขณํ)
มีความมีการปกปิดเป็นรส (โอทหนรสํ) มีความหดหู่เป็นปัจจุปัฏฐาน
(ลีนตาปจฺจุปฏฺฐานํ) หรือมีความง่วงโงกและความหลับเป็นปัจจุปัฏฐาน
(ปจลายิกนิทฺทาปจฺจุปฏฺฐานํ). ถีนมิทธะแม้ทั้งสองมีมนสิการโดยอุบาย
ไม่แยบคายในสภาวะมีความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน และความง่วงเหงาหาว
นอนเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน.
อกุศลจิตดวงที่ 2 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 3


อกุศลจิตดวงที่ 3 ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยโสมนัสในอารมณ์
ทั้ง 6 ผู้ยังโลภะให้เกิดขึ้น ไม่ยึดถือโดยนัยว่า นี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์ ดังนี้
แลดูอยู่ซึ่งพระราชา มวยปล้ำ การเล่นมีการต่อสู้เป็นต้น หรือมีการขวนขวาย
ในการฟังเสียงที่ชอบใจเป็นต้น ในอธิการแห่งอกุศลดวงที่ 3 นี้ มีองค์ที่
เหมือนกัน 5 องค์ พร้อมกับมานะ ในบรรดาองค์เหล่านั้น สภาวะที่ชื่อว่า

มานะ เพราะอรรถว่า ย่อมถือตัว. มานะนั้นมีการทรนงตนเป็นลักษณะ
(อุนฺนติลกฺขโณ) มีการยุกย่องสัมปยุตธรรมเป็นรส (สมฺปคฺคหนรโส)
มีความปรารถนาดุจธงเป็นปัจจุปัฏฐาน (เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺฐาโน) มีโลภะ
ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิเป็นปทัฏฐาน (ทิฏฐิวิปฺปยุตตฺตโลภปทฏฺฐาโน) พึง
ทราบว่า เหมือนคนบ้า.
อกุศลจิตดวงที่ 3 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 4


อกุศลจิตดวงที่ 4 ย่อมเกิดขึ้นในฐานะมีประการดังกล่าวนั่นแหละคือ
ในฐานะทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ในกาลใด พวกชนย่อมถ่มเขฬะไปหรือโปรย
ฝุ่นเท้าไปบนศีรษะ ในกาลนั้น อกุศลจิตดวงที่ 4 ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลาย
ผู้แลดูในระหว่างๆ โดยเป็นไปกับด้วยอุตสาหะเพื่อหลบหลีกเขฬะและฝุ่นเท้านั้น
และย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลายผู้แลดูตามช่องนั้น ๆ เมื่อความวุ่นวายเป็นไปใน
เมื่อตัวละครหลวงกำลังออกมา ดังนี้. ในอกุศลจิตดวงที่ 4 นี้ มีเยวาปนก-
ธรรม 7 กับมานะถีนมิทธะ แม้อรรถแห่งอกุศลจิตทั้งสอง คืออกุศลจิตดวงที่ 3
และที่ 4 ย่อมลดมิจฉาทิฏฐิ พึงทราบการนับธรรมด้วยสามารถธรรมที่เหลือ
เว้นทิฏฐินั่นแล.
อกุศลจิตดวงที่ 4 จบ

อธิบายอกุศลจิตดวงที่ 5


อกุศลจิตดวงที่ 5 ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มัชฌัตตะ (วางเฉย) ด้วย
สามารถแห่งเวทนาในอารมณ์ทั้ง 6 ผู้ยังโลภะให้เกิด ผู้ยึดถืออยู่โดยนัยมีอาทิว่า
นี้เป็นสัตว์ นี้เป็นสัตว์. ก็ในอกุศลจิตดวงที่ 5 นี้ อุเบกขาเวทนาย่อมมีในที่